พิธีพระราชทานประริญญาบัตร 2554

วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ตลาดบ้านใหม่...แปดริ้ว

ตลาดเก่าฉะเชิงเทรา ชื่อ ... ตลาดบ้านใหม่ ... มีขนม อร่อยๆ กินเยอะแยะ โดยเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์
 (วันธรรมดาก็มี แต่อาจไม่เยอะเท่า วันหยุด)
        ตลาดบ้านใหม่ ตั้งอยู่บนถนนศุภกิจ เขตเทศบาลเมือง ฉะเชิงเทรา (ทางไป อ.บางน้ำเปรี้ยว)   ขับรถเข้าถึงตัวเมืองแล้วขับตรงผ่านตลาด มาทางบางน้ำเปรี้ยว จากตลาดประมาณ2-3กม.เท่านั้น ถ้าไปไม่ถูกจริงๆ ถามชาวบ้านแถวตลาดได้เลยทุกคนเค้ารู้จักดี และมีน้ำใจบอกทางให้  จอดรถใต้สะพานรถไฟ ริมน้ำได้เลย หรือจะไปทางเรือก็ได้ จอดรถที่วัดโสธร ซื้อตั๋วเรือที่ท่าน้ำหลังวัด ในเรือมีไกด์ท้องถิ่นให้ข้อมูลเป็นสาระ เรื่องเมืองแปดริ้ว ชี้ชวนให้ดูเล่าเรื่องวิถีริมฝั่งน้ำบางปะกง ฟังเพลิน ชมเพลินๆ 20 นาที ก็ถึงท่าเรือตลาดบ้านใหม่แล้ว ขากลับก็ยังใช้สิทธิ์ ล่องกลับได้ ไม่ต้องเสียตังค์อีก
       ภายในตลาดจะมีทั้งสินค้าที่เป็นอาหารต่างๆ ทั้งข้าวแกง อาหารตามสั่งรสชาติดั้งเดิม ก๋วยเตี๋ยว และกาแฟโบราณ เครื่องดื่มสมุนไพร ขนมไทย-จีน   ของเล่นโบราณ ของฝาก ของที่ระลึกนานาชนิด  รวมทั้งผักสด ผลไม้ท้องถิ่นสดจากสวน  ขายตรงถึงมือไม่ผ่านคนกลาง   โชคดีอาจเจอชาวประมงตกกุ้งแม่น้ำ  มาลอยเรือร้องขายกับจะๆ  ให้แย่งกันซื้อ 
 เที่ยวสนุกสุดอร่อยแล้วลองอ่านข้อมูลความเป็นมาของ ตลาดบ้านใหม่ ริมน้ำแห่งนี้กันดูบ้างเป็นไร......
       ตลาดบ้านใหม่ เป็นตลาดที่อยู่คู่กับชาวแปดริ้ว (ฉะเชิงเทรา) มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นับเนื่องมากว่า 100 ปี ในอดีตเส้นทางการสัญจรของชาวไทยส่วนใหญ่ จะใช้การสัญจรทางน้ำเป็นหลัก ทำให้ตลาด และแหล่งชุมชนที่หนาแน่นส่วนใหญ่จะตั้งอยู่บริเวณริมน้ำ เช่นเดียวกับชาวแปดริ้วที่มีตลาดบ้านใหม่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกง แม่น้ำสายหลัก แหล่งชีวิตของชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยเส้นทางน้ำสายนี้เชื่อมต่อไปจนถึงแม่น้ำปราจีนบุรี นับเป็นระยะทางถึง 230 กิโลเมตร ดังนั้นแหล่งเศรษฐกิจ การค้าขาย และวิถีชีวิตของตลาดที่อยู่ริมน้ำจึงมีความสำคัญและเป็นแหล่งสืบทอดวัฒนธรรมตั้งแต่ สมัยบรรพบุรุษ
    จวบจนกระแสแห่งวัตถุ  และการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่งของเทคโนโลยี ทำให้เส้นทางการสัญจรทางน้ำถูกลดบทบาทลง  การสัญจรทางบกเข้ามามีบทบาทแทน จังหวัดฉะเชิงเทราเองก็หนีไม่พ้นวิถีนี้  ความคึกคักศูนย์กลางการค้าได้ย้ายที่เปลี่ยนไป มีตลาดใหม่เกิดขึ้น   รองรับการค้าขายทางบกแทน  ส่งผลให้วิถีชีวิตของชาวตลาดบ้านใหม่  อันเป็นตลาดริมน้ำที่ผูกพัน  อยู่กับการค้าขายชายน้ำ มีสภาพเงียบเหงา  บ้านเรือนบางส่วนชำรุดทรุดโทรม  แต่ยังมีชาวชุมชนส่วนหนึ่งที่ยังดำรงอยู่   และประคับประคอง ชีวิตที่ผสมผสานวัฒนธรรม ไทย-จีน ให้ยังคงอยู่  เมื่อกระแสการท่องเที่ยวกลายเป็นกระแสยอดนิยม ที่นำเศรษฐกิจ และความมั่งคั่งประกอบกับ มีอาการโหยหาอดีต(nostalgia) ของผู้คนมีเพิ่มมากขึ้น  เป็นการจุดประกายแนวคิด  ในการพัฒนาตลาดบ้านใหม่ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้น จึงมีการพลิกฟื้นวิถีตลาดริมน้ำโบราณ ให้เกิดขึ้นอีกครั้ง  ด้วยความร่วมมือของหลายฝ่ายในพื้นที่มีการก่อตั้ง ชมรมรักษ์ตลาดบ้านใหม่ ขึ้นเพื่อดำเนินงานและดูแลร้านค้ากว่า 120 ร้าน ภายใน ตลาดบ้านใหม่ ภายใต้ชื่อ โครงการพัฒนา ตลาดบ้านใหม่ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน   เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดฉะเชิงเทราอีกทางหนึ่งด้วย






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น